top of page

Chapter 2: ประธาน ตัวชี้ประธาน กรรม ตัวชี้กรรม และวิธีการผันคำกริยา


Helllo! Hi! สวัสดี! 안녕하십니까? 안녕하세요? 안녕!!

วันนี้พลจะมานำเสนอแกรมม่าแรกที่คนเรียนภาษาเกาหลีจะต้องรู้กัน นั่นก็คือเรื่องการแต่งประโยคครับ โดยเรื่องที่จะสอนวันนี้คือเรื่อง ประธาน ตัวชี้ประธาน กรรม ตัวชี้กรรม และวิธีการผันคำกริยาในภาษาเกาหลีจ้าาาาาาาา แต่ก่อนอื่น เขียนคล่อง สะกดคล่องกันหรือยัง ถ้ายัง รีบกลับไปทบทวนได้ใน Chapter 1 น้าาา พยายามเอาชื่อภาษาไทยสะกดเป็นภาษาเกาหลีก็ได้ หรือจะลองสะกดคำศัพท์ภาษาเกาหลีเลยก็ได้น้าาา

ก่อนอื่นก่อนที่จะเข้าเนื้อหาประจำวันนี้ ซึ่งคิดว่าน่าจะยาว อิอิ เรามาเริ่มที่เนื้อหาที่ผ่อนคลายๆกันก่อน นั่นก็คือการแนะนำตัวเองในภาษาเกาหลี

ชื่อของคนเกาหลีนั้น ประกอบไปด้วย 2 - 3 พยางค์ โดยจะใช้นามสกุลไว้ข้างหน้า และชื่อไว้ข้างหลัง ทุกๆคนก็สามารถตั้งชื่อตัวเองได้เลย หาจากกูเกิ้ล เว็ปตั้งชื่อมีเพียบเลย โดยชื่อของพลคือ 김형우 (คิมฮยองอู) นั่นเอง

การสวัสดีในภาษาเกาหลีอย่างเป็นทางการที่สุดคือคำว่า........

안녕하십니까? (อัน นยอง ฮา ชิม นี ก้ะ) แปลว่า สวัสดี หรือเราจะพูดแบบที่เราได้ยินเหล่าโอปป้าของเราพูดบ่อยก็ได้ นั่นก็คือคำว่า........

안녕하세요? ( อัน นยอง ฮา เซ โย) แปลว่า สวัสดี ปล. คำว่าสวัสดีในภาษาเกาหลีเป็นคำถามเสมอนะ เราต้องใส่เครื่องหมายคำถามด้วย

เอ้ะ แล้วมันแตกต่างกันยังไงน้าาา?

พลเชื่อว่าหลายๆคนคงรู้อยู่แล้วใช่ไหม ว่าภาษาเกาหลีเป็นภาษาที่มีระดับในการพูด เหมือนกับบ้านเราเลย ที่มีระดับสุภาพ กึ่งสุภาพ และไม่สุภาพ ไม่ทางการอะไรประมาณนี้ เกาหลีก็มีเช่นกัน ซึ่งภาษาเกาหลีก็เป็นแบบบ้านเรานั่นเอง โดยพลจะสอนประโยคที่สุภาพที่สุดก่อนนะครับ ก็คือ 안녕하십니까? (อัน นยอง ฮา ชิม นี ก้ะ) เท่านั้นน้าาา อย่าเพิ่งใช้ 안녕하세요? ( อัน นยอง ฮา เซ โย) น้าา อดใจไว้ก่อน

เพราะฉะนั้นเรามาแนะนำตัวแบบง่ายๆกันเถอะ (จำไปก่อน จะสอนแกรมม่าทีหลังว่ามาจากไหน)

안녕하십니까? 제 이름은 ....김형우....입니다. 만나서 반갑습니다.

(อันนยองฮาชิมนีก้ะ เช อีรึมมึน ....คิมฮยองอู....อิมนีดา มันนาซอ พันกับซึมนีดา)

แปลว่า สวัสดีครับ ชื่อของผมคือ คิมฮยองอูครับ ยินดีที่ได้รู้จักครับ

ตรงที่เป็นชื่อเราก็เปลี่ยนเป็นชื่อเราได้เลยน้าาา

____________________________________________________________________หลังจากที่เราออกนอกบทเรียนมานาน กลับเข้าสู่บทเรียนวันนี้กันดีกว่า

คำเตือน: ค่อยๆอ่านและทำความเข้าใจ เพราะมันแตกต่างจากภาษาไทยและภาษาอังกฤษ :( .......

การแต่งประโยคในภาษาเกาหลีนั้น ก็มีหลักการคล้ายๆกับภาษาอื่นๆ ที่จะต้องมี ประธาน คำกริยา และกรรมอยู่ในประโยค แต่..................... ภาษาเกาหลีไม่ได้วางรูปประโยคเหมือนภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ เพราะเขาเรียงประโยคแบบนี้ ..................ประธาน+กรรม+คำกริยา..................

ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าเทียบเป็นในภาษาไทยก็จะเป็นแบบนี้ 1. ฉันเธอรัก (ฉันรักเธอ) 2. ฉันข้าวกิน (ฉันกินข้าว) = ทำไมรู้สึกเหมือนเป็นพระ 3. ฉันโรงเรียนไป (ฉันไปโรงเรียน) แค่เห็นก็ปวดหัวแล้ว เห้อออ แต่สู้เนอะ เราจะไม่ร้องนะ 5555555

(อธิบายเพิ่ม: ประธานคือ คำนามที่อยู่หน้าประโยค เช่น ฉัน เธอ คุณ หรืออะไรก็ได้ที่เป็นคำนาม = คำที่ใช้เรียกแทน คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ส่วน กรรม ก็เวรกรรมที่เราเคยทำไว้นั่นเอง เอ้ยยยย ไม่ใช่ ตลกไหม ถามใจเธอดู (?) กรรม คือ สิ่งที่โดนกระทำในประโยคนั่นเอง และคำกริยาก็คือ คำที่แสดง การกระทำ เช่น เดิน กิน นั่ง รัก พูด คุย วิ่ง เป็นต้น)

ประธาน

เริ่มที่ประธานกันก่อน คำว่า ฉัน ในภาษาเกาหลีคือคำว่า 저 (ชอ) หรืออีกคำที่เราเคยได้ยินคือคำว่า 나 (นา) และคำว่า คุณหรือเธอในภาษาเกาหลีคือ 당신 (ทังชิน) หรือที่ได้ยินบ่อยๆก็คือ 너 (นอ) คำอื่นๆนอกจากนี้ อย่าเพิ่งน้าาาา ใจเย็นนนนนนน โดยเมื่อเวลาเราเอาไปใส่ในประโยคเพื่อจะแต่งประโยคนั้น จะมีสิ่งหนึ่งที่มีชื่อว่า ........ตัวชี้ประธาน........ เข้ามาอยู่หลังประธาน เพื่อทำให้รู้ว่า ประโยคนี้ใครเป็นประธานนั่นเอง โดยตัวชี้ประธานแบบแรกที่เราจะเรียนกัน มี 2 ตัวคือ 은 (อึน) และ 는 (นึน) เริ่มคุ้นกันยังวัยรุ่นนน?????

เอ้ะ พี่พลสุดหล่อคะ แล้วมันแตกต่างกันยังไง? ได้ๆๆ เดี๋ยวพลจัดให้ (เล่นเอง เออเอง5555)

สำหรับวิธีการใช้นั้นก็ดูง่ายๆเลยจ้า ว่าประธานมีตัวสะกดไหม ถ้าไม่มีให้ใช้ 는 (นึน) ถ้ามีให้ใช้ 은 (อึน) เช่น

저 (ชอ ไม่มีตัวสะกด) ก็จะได้เป็น 저는 (ชอนึน) คุ้นกันยัง???? 나 (นา ไม่มีตัวสะกด) ก็จะได้เป็น 나는 (นานึน) คุ้นกันยัง????

이종석 (อีจงซอก สามีใคร บอกมาเดี๋ยวนี้ๆๆๆ ชื่อนี้มีตัวสะกดถูกไหมเอ่ย นั้นก็คือ ㄱ หรือ ก นั่นเอง) ก็จะได้เป็น 이종석은 (อีจงซอกึน) นั่นเอง

박보검 (พาร์คโบกอม ก็มีตัวสะกดเหมือนกัน นั่นก็คือ ㅁ หรือ ม)

ก็จะได้เป็น 박보검은 (พาร์คโบกอมึน) นั่นเอง

ปล. ㅇ (อีอึงในภาษาเกาหลี ไม่มีเสียง เพราะฉะนั้นเวลาที่มันอยู่ติดตัวไหนให้เอาตัว สะกดข้างหน้ามาเชื่อมเสียงเลย เช่น อีจงซอก ก็กลายเป็น อีจงซอ...กึน...)

กรรม

้กรรม ก็คือสิ่งที่ถูกกระทำนั่นเอง แต่เมื่อ ประธานยังมีตัวชี้ประธาน กรรมก็ขอไม่น้อยหน้า ก็ต้องมีตัวชี้กรรมเช่นกัน คือ 을 (อึล) และ 를 (รึล) เพื่อให้รู้ว่าประโยคนี้ คำไหนคือกรรมนั่นเอง

วิธีการใช้ก็เหมือนเดิมเลยวัยรุ่นเอ้ยยยย ก็คือถ้ากรรมไม่มีตัวสะกดก็ใช้ 를 (รึล) แต่ถ้ามีตัวสะกดก็ใช้ 을 (อึล) นะที่รัก

ยกตัวอย่าง

저 (ชอ ไม่มีตัวสะกด) ก็จะได้เป็น 저를 (ชอรึล) 나 (นา ไม่มีตัวสะกด) ก็จะได้เป็น 나를 (นารึล)

이종석 (มีตัวสะกดถูกไหมเอ่ย นั้นก็คือ ㄱ หรือ ก นั่นเอง)

ก็จะได้เป็น 이종석을 (อีจงซอกึล) นั่นเอง

박보검 (พาร์คโบกอม ก็มีตัวสะกดเหมือนกัน นั่นก็คือ ㅁ หรือ ม)

ก็จะได้เป็น 박보검을 (พาร์คโบกอมึล) นั่นเอง

ง่ายป้ะละ บอกแล้ววว (ตอนไหนหว่าา 555)

คำกริยา

อันสุดท้ายแล้วว พิมพ์เหนื่อยมากนะทุกคน อยากให้รู้ไว้ หัวใจรักจริง (?)

คำกริยา ก็คือคำที่แสดงการกระทำ เช่น เดิน กิน นั่ง รัก พูด คุย วิ่ง

โดยคำกริยาเกาหลี แบ่งออกเป็น .......2....... ประเภท (จำๆๆๆๆๆๆ)

1. คำกริยาแสดงการกระทำ หรือ Action Verb เรียกสั้นๆว่า AV. เวิร์ป (ไม่ใช่หนังโป้นะจ๊ะ)

มีอะไรบ้าง? ก็ตรงตัวเลย คำกริยาแสดงการกระทำ อะไรที่เราทำใน 1 วันนั้นก็คือคำกริยาประเภทนี้ เช่น เดิน กิน นั่ง รัก พูด คุย วิ่ง

และ

2. คำกริยาบอกสภาพ หรือ Description verb เรียกสั้นๆว่า DV. เวิร์ป

บอกสภาพ? ห้ะ อะไรยังไงอ่ะ งง? ตอนแรกพี่ก็ งง จ่ะ แต่ตอนนี้เข้าใจละ 5555 ก็จะมาบอกให้ทุกคนรู้ คำกริยาบอกสภาพก็คือบอกว่า มันเป็นยังไง มันเป็นแบบไหน รู้สึกยังไง เช่น

น่ารัก สวย หล่อ รวย จน แพง ไมแพง เค็ม ขม เปรี้ยว เผ็ด อบอุ่น เย็นสบาย หนาว ร้อน เป็นต้น

ปล.มันจะเหมือน Adj. ในภาษาอังกฤษอ่ะ แต่ว่าในภาษาเกาหลีมันเป็น verb นะจ๊ะที่รัก

โดยวิธีการสังเกตุคำกริยาในภาษาเกาหลี ดูง่ายๆเลย คำกริยาจะต้องลงท้ายด้วย 다 (ดา) หรือ 하다 (ฮาดา) เท่านั้น

เช่น

AV. เวิร์ป

เดิน 걷다 (คอด ดา)

กิน 먹다 (ม็อก ดา)

นั่ง 앉다 (อาน ทา)

รัก 사랑하다 (ซาราง ฮาดา)

พูด 말하다 (มาล ฮาดา

วิ่ง 뛰다 (ตวี ดา)

จำจ้าาา นี่คือชุดคำศัพท์แรกที่ให้นะ อิอิ

DV. เวิร์ป

น่ารัก 귀엽다 (ควี ย็อบ ดา)

สวย 예쁘다 (เย ปือ ดา)

แพง 비싸다 (พี ซา ดา)

ไมแพง 싸다 (ซา ดา)

เค็ม 짜다 (จา ดา)

เปรี้ยว 시다 (ชี ดา)

เผ็ด 맵다 (แม็บ ดา)

อบอุ่น 따뜻하다 (ตา ตึด ฮาดา)

เย็นสบาย 시원하다 (ชีวอน ฮาดา)

หนาว 춥다 (ชุบ ดา)

ร้อน 덥다 (ท็อบ ดา)

เยอะ 많다 (มาน ทา)

เวิร์ปอีกตัวที่เป็นคำกริยาพิเศษ คือคำว่า เป็น หรือ คือ นั่นก็คือ 이다 (เป็นคำกริยาพิเศษต้องติดกับคำนามเท่านั้น ไม่สามารถใช้โดดๆเดี่ยวๆได้)

สังเกตุไหม มันจะลงท้ายด้วย 다 (ดา) และ 하다 (ฮาดา) แต่.......... เมื่อเอาไปใส่ในประโยคเราจะเอาไปแบบนี้ไม่ได้นะตัวเธอ เราต้องผันคำกริยาให้เข้ากับประโยคก่อน โดยการผันในวันนี้ พลจะสอนการผันเป็นรูปที่สุภาพที่สุดก่อน

การผันแบบสุภาพสุด

โดยจะลงท้ายด้วย ㅂ니다 (พีอึบ นีดา) และ 습니다 (ซึมนีดา

วิธีการผันคือ

ตัด 다 ทิ้งก่อน เช่น 사랑하다 (ซารางฮาดา) ก็จะได้เป็น 사랑하

และ 먹다 (ม็อก ดา) ก็จะได้เป็น 먹

หลังจากนั้น ให้เราดูตัวที่เหลืออยู่ตัวสุดท้ายว่ามีตัวสะกดไหม

ถ้ามีตัวสะกด ให้เอาคำว่า 습니다 ไปต่อท้ายได้เลย

เช่น 먹습니다 (ม็อก ซึม นี ดา) กิน

แต่ถ้าไม่มีตัวสระกด ให้เอา ㅂ ไปเป็นตัวสะกดก่อนแล้วตามด้วย 니다

เช่น 사랑합니다 (ซา ราง ฮัม นี ดา) รัก

แบบฝึกหัด

1.เดิน 걷다 ผันได้เป็น 걷습니다 อ่านว่า คอดซึมนีดา

2.นั่ง 앉다 ผันได้เป็น 않습니다 อ่านว่า อานซึมนีดา

3.พูด 말하다 ผันได้เป็น 말합니다 อ่านว่า มาลฮัมนีดา 4.วิ่ง 뛰다 ผันได้เป็น ................................. อ่านว่า...................... 5.น่ารัก 귀엽다 ผันได้เป็น ................................. อ่านว่า...................... 6.สวย 예쁘다 ผันได้เป็น ................................. อ่านว่า...................... 7.แพง 비싸다 ผันได้เป็น ................................. อ่านว่า...................... 8.ไมแพง 싸다 ผันได้เป็น ................................. อ่านว่า...................... 9.เค็ม 짜다 ผันได้เป็น ................................. อ่านว่า...................... 10.เปรี้ยว 시다 ผันได้เป็น ................................. อ่านว่า......................

11.เผ็ด 맵다 ผันได้เป็น ................................. อ่านว่า...................... 12.อบอุ่น 따뜻하다 ผันได้เป็น ................................. อ่านว่า...................... 13.เย็นสบาย 시원하다 ผันได้เป็น ................................. อ่านว่า......................

14.หนาว 춥다 ผันได้เป็น ................................. อ่านว่า...................... 15.ร้อน 덥다 ผันได้เป็น ................................. อ่านว่า...................... 16.เยอะ 많다 ผันได้เป็น ................................. อ่านว่า...................... 17. เป็น อยู่ 이다 ผันได้เป็น 입니다 อ่านว่า อิมนีดา

แค่นั้นเอง อิอิ

และเมื่อมาแต่งประโยคเต็มๆจริงๆก็จะได้แบบนี้ (ทุกประโยคไม่จำเป็นต้องมีกรรมก็ได้)

โครงสร้าง ประธาน+กรรม+กริยา หรือ ถ้าไม่ใส่กรรมก็ ประธาน+กริยา

1.ฉันรักเธอ (ฉัน = 저 เธอ, คุณ = 당신 รัก = 사랑하다)

저는 당신을 사랑합니다. อ่านว่า ชอ นึน ทังชินึล ซารางฮัมนีดา

2. ฉันวิ่ง (ฉัน = 저 วิ่ง = 뛰다)

저는 뜁니다. อ่านว่า ชอ นึน ตวีมนีดา

3.คุณหนาว (คุณ = 당신 หนาว = 춥다)

당신은 춥니다. อ่านว่า ทังชีนึน ชุมนีดา

4.ฉันเป็นนักเรียน (ฉัน = 저 นักเรียน = 학생 ฮักแซง เป็น = 이다)

저는 학생입니다. (이다 ต้องติดกับคำนามเสมอ)

5.คิมฮยองอูพูด

................................................................

6.คิมฮยองอูน่ารัก

.................................................................

ปล.ทำไมอ่านว่า ซึมนีดา หรือ (ยกตัวอย่าง 1 เวิร์ป คือ 이다 = เป็น คือ) อิมนีดา? ทำไมไม่อ่านว่า ซึพนีดา หรือ อิพนีดา?

เพราะ ㅂ เสียงมันแข็ง ㄴ ก็เสียงแข็ง เสียงแข็งมาเจอกัน มันไม่เพราะ เขาก็เลยรวมเสียงเป็น ซึมนีดา หรือ อิมนีดา จ้าาา

ช่วงแรกอย่าเพิ่งไปสนใจกรรมนะ สนใจแค่ ประธานกับคำกริยาพอจ้าาาาาา

เป็นไงบ้างงงงง เขียนมาถึงตรงนี้เหนื่อยดี 555555 หลังจากนี้ลองหาคำศัพท์เองได้เลยนะ ลองฝึกแต่งดู ฝึกออกเสียงด้วยน้าา ที่สำคัญ อย่าาาาาาาาาาาาาาาาาาา!!!!!! อย่าแปลจากกูเกิ้ล เพราะมักผิดอยู่เสมอ แอ็พที่พลอยากแนะนำเพราะเชื่อถือได้คือ แอ็พพจนานุกรม 네이버 사전 (Naver Dictionary) ไปโหลดมานะ แล้วเพิ่มภาษาไทยเข้าไป เท่านี้เราก็จะได้คำศัพท์ที่เราอยากรู้แบบถูกต้องจ้าา

อย่าลืมทำแล้วเขียนคำตอบมาในคอมเมนต์ข้างล่างนี้นะ

สำหรับวันนี้ 안녕 :)

김형우

bottom of page